"ตับ" ของโปรด (ซ่อนพิษ) ของเจ้าตูบ [บทความเชิงวิชาการ ฉบับสอง]

"ตับ" ของโปรด (ซ่อนพิษ) ของเจ้าตูบ

อาหาร ที่เจ้าของมักให้สุนัขกินมีมากมายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอาหารสุนัขที่มีมากมายหลากหลายทั้งยี่ห้อและรูปแบบของอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารเม็ด, อาหารกระป๋อง หรือแม้แต่อาหารเสริมต่างๆ ในบางครอบครัวอาจมีอาหารรูปแบบอื่นเช่นอาหารปรุงเอง ซึ่งอาจให้ร่วมกับผลิตภัณท์อาหารสุนัขทั่วไป หรือให้สุนัขกินอาหารปรุงเองเพียงอย่างเดียว
ตัวอย่าง ของอาหารปรุงเองที่เป็นที่นิยม ได้แก่ ไก่ทอดหรือไก่ย่าง, หมูทอด ส่วนอาหารปรุงเองที่หลาย ๆ ครอบครัวคงปฏิเสธไม่ได้ ว่าเป็นอาหารสุดโปรดของเจ้าสมาชิกสี่ขา คือ อาหารที่มีส่วนผสมของตับ เช่น ตับไก่และตับหมูเป็นต้น หลายครั้งที่เจ้าของพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์มักได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่อง อาหารที่มักตรงกันข้ามกับอาหารที่ชื่นชอบของสุนัข หาก เจ้าของที่ปรุงอาหารที่มีส่วนผสมของตับให้สุนัขกินต่อเนื่องเป็นเวลานาน คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสุนัขอาจแสดงลักษณะบางอย่างที่ปรากฏเห็นได้ชัด เช่น ขนหยาบกราน หรือผิวหนังแห้ง อาการดังกล่าวนี้ มีสาเหตุจากสิ่งใด หรือการให้ทานตับในปริมาณมากหรือในระยะเวลานาน อาจเกิดสิ่งอื่นๆ ได้อีกหรือไม่
อาหารที่มีส่วนผสมของตับ
มี ปริมาณของวิตามินเอเป็นจำนวนมาก หากสุนัขได้รับในปริมาณมากหรือได้รับต่อเนื่องเป็นเวลานาน สุนัขจะมีการสะสมของวิตามินเอในร่างกาย จนเกิดความเป็นพิษต่อระบบต่างๆ ภายในร่างกาย
อาการ
อาจ สังเกตพบอาการต่างๆ เช่น น้ำหนักลดลง มีร่างกายซูบผอม, ซึม, ผิวหนังและขนหยาบกร้าน, เจ็บเวลาเดิน หากพบในลูกสุนัข อาจพบว่าสุนัขมีรูปร่างผิดปกติร่วมด้วย จัดเป็นอาการที่เด่นชัดและมีผลกระทบต่อสุนัขมาก ซึ่งพบได้ในกรณีที่สุนัขกินตับในปริมาณมาก เนื่องจากมีวิตามินเอที่สะสมในร่างกายปริมาณมากจนเกิดความเป็นพิษนั้นจะส่ง ผลให้เกิดขบวนการเจริญของกระดูกที่ผิดปกติไป ไม่ว่าจะเป็นหยุดการสร้างคอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบในกระดูก, ลดการเจริญของกระดูกในลูกสุนัข และเกิดการเจริญที่ผิดปกติของกระดูกอ่อน เมื่อพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ อาจต้องทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อแยกจากความผิดปกติของกระดูกในกรณีอื่นๆ โดยการตรวจคลำร่วมกับการถ่ายภาพเอกซเรย์ เช่น การอักเสบของกระดูกหรือเนื้องอกกระดูก เป็นต้น
การแก้ไข
ควร เปลี่ยนให้เป็นอาหารที่มีสัดสวนของอาหารอย่างสมดุล เช่น ผลิตภัณท์อาหารสุนัขที่มีจำหน่ายทั่วไป ซึ่งจะมีสัดส่วนของอาหารที่ค่อนข้างสมดุลกว่าอาหารปรุงเอง ในบางครั้งสัตวแพทย์อาจให้การรักษาทางยาร่วมด้วยหากสุนัขมีอาการต่างๆ ในกรณีที่พบอาการในสุนัขโตเต็มวัยพบว่ามักมีการปรับสภาพร่างกายให้เป็นปกติ ได้ค่อนข้างดี แต่อาจยังพบอาการอื่นๆ ได้บ้างเช่น อาการข้อต่อแข็งเกร็ง เป็นต้น ในกรณีที่พบอาการในลูกสุนัขอาจพบการเจริญที่ผิดปกติของโครงสร้างร่างกายได้

 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

calendar ของฉัน