เขียนโดย
big kiii 51011011276
ความคิดเห็น (0)
“ห้องทรงงาน” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ห้องทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น กว้างไกลยิ่งนัก มีฟ้าเป็นเพดาน มีพื้นห้องเป็นพื้นดิน ป่าเขา และลำห้วยอันน้อยใหญ่
นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 เป็นต้นมา พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎรตามพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลและ ทุรกันดารทั่วประเทศ เพื่อให้ราษฎรได้พ้นจากความทุกข์ยากและมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้นจากเดิม
จากวันนั้นถึงวันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงงานเพื่อราษฎรของพระองค์โดยไม่มีวันหยุด ทรงเป็นห่วงประชาชนของพระองค์ในทุกๆ ด้าน พระราชกรณียกิจและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นับพัน นับหมื่นโครงการ ก่อกำเนิดเกิดผลอย่างยั่งยืน ทำให้ประชาชนทุกเชื้อชาติ ศาสนา พัฒนาและตั้งมั่น อยู่บนพื้นฐานของ “ความพอเพียง” และ “การพึ่งพาตนเอง”
สำหรับห้องทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น กว้างไกลยิ่งนัก มีฟ้าเป็นเพดาน มีพื้นห้องเป็นพื้นดิน ป่าเขา และลำห้วยอันน้อยใหญ่ หรือ ป่า น้ำ ดิน คน นั่นเอง เพียงเพราะว่าทุกอย่างมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก ซึ่งเป็นปัญหาของประเทศไทยมาโดยตลอด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระทัยถึงปัญหาเหล่านี้อย่างลึกซึ้ง จากการเสด็จพระราชดำเนินไปทั่วทุกหนแห่งของประเทศ จึงทราบปัญหาทุกอย่างด้วยพระองค์เอง ทรงห่วงใยในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับราษฎร พร้อมๆ กับทรงตระหนักถึงการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ทรงถือเป็นพระราชภาระที่ทรงเริ่มก่อน ก่อนที่ประชาชนในแผ่นดินจะรู้ถึงภัยจากความผันแปรของธรรมชาติ ทรงใช้พระปรีชาสามารถ พระวิริยะอุตสาหะ และด้วยน้ำพระราชหฤทัยที่เปี่ยมด้วยพระเมตตาคุณ พระกรุณาธิคุณ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อบำบัดปัดเป่าทุกข์ร้อนของเหล่าอาณาประชาราษฎร
ทรงมุ่งเน้นการพัฒนา เพื่อให้คนยากจนพอมีพอกิน ไม่อดอยาก และสามารถช่วยตัวเองได้อย่างแท้จริง ซึ่งมิใช่จำกัดอยู่แต่เพียงการพัฒนาทางด้านการเกษตรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงชุมชนในชนบททั้งหมด ตลอดจนถึงโครงสร้างการผลิต วิถีชีวิต สุขอนามัย วัฒนธรรมประเพณี ไปจนถึงวิธีคิดและจิตสำนึกของคนทั้งประเทศ อันจะนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ของประเทศ นั่นคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตรเห็นสังคมไทยอย่างเป็นองค์รวม มิได้ทรงแยกการพัฒนาออกเป็นส่วนๆ ดังเช่นการพัฒนาของรัฐ ที่ถึงแม้ว่าจะได้รับผลตามเป้าหมาย แต่ก็จะไม่ได้ครบถ้วนตามความหมายของการพัฒนาอย่างแท้จริง เพราะยังไม่ได้ปลูกฝังให้ผู้ได้รับประโยชน์ ได้มีความรู้ความเข้าใจ หรือวางแนวคิดให้รู้จักพัฒนาต่อไปจากจุดนั้น คือการรู้จักช่วยเหลือตัวเอง ใช้ภูมิปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ มาประยุกต์ใช้อย่างถูกต้องตามเหตุการณ์ สิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ ที่จะโน้มนำสังคมไทยทั้งมวลไปสู่ความสุขสมบูรณ์แบบในที่สุด
พระองค์ทรงสอนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้คนไทยได้ศึกษา เรียนรู้ให้เข้าใจ เพื่อใช้เป็น หลักในการดำเนินชีวิต อย่างพอดี พอประมาณ สมดุล ไม่สุดโต่ง และสร้างภูมิคุ้มกันภัยที่อาจเกิดแก่ตน แก่ครอบครัว แก่งาน และแก่สังคม
และในช่วงเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคม 2550 จะมีการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดจนประชาชนทุก หมู่เหล่า ได้มีโอกาสชื่นชมพระบารมี และถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
โดยงานนิทรรศการที่กำหนดจัดขึ้นนี้จะมีขึ้นอย่างสมพระเกียรติ และพิเศษกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา โดยจะไปจัดหมุนเวียนทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการถวายความจงรักภักดีอย่างทั่วถึงกันทั้ง 4 ภาค ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ จ.ขอนแก่น, ภาคใต้ ที่ จ.สงขลา ระหว่างวันที่ 1 - 8 พฤศจิกายน 2550 ส่วนภาคเหนือจัดที่ จ.เชียงใหม่ และภาคกลาง ที่ จ.ชลบุรี ระหว่างวันที่ 17 - 25 พฤศจิกายน 2550 โดยจะหมุนเวียนมาจัดแสดงที่อิมแพค เมืองธานี ในช่วงมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา คือ ระหว่างวันที่ 1 -15 ธันวาคม ปีนี้ แบ่งเป็นโถงห้องต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น พระราชวงศ์จักรี พระราชประวัติ พระอัจฉริยภาพ พระราชกรณียกิจ และ 60 ปีทรงครองราชย์ เป็นต้น โดยได้จำลองห้องทรงงานของพระองค์ ผ่านทางเทคนิคการนำเสนอพิเศษมากมาย ...
จาก : MMP Magazine ฉบับที่ 2
เขียนโดย
big kiii 51011011276
ความคิดเห็น (0)
"ตับ" ของโปรด (ซ่อนพิษ) ของเจ้าตูบ
อาหาร ที่เจ้าของมักให้สุนัขกินมีมากมายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอาหารสุนัขที่มีมากมายหลากหลายทั้งยี่ห้อและรูปแบบของอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารเม็ด, อาหารกระป๋อง หรือแม้แต่อาหารเสริมต่างๆ ในบางครอบครัวอาจมีอาหารรูปแบบอื่นเช่นอาหารปรุงเอง ซึ่งอาจให้ร่วมกับผลิตภัณท์อาหารสุนัขทั่วไป หรือให้สุนัขกินอาหารปรุงเองเพียงอย่างเดียว
ตัวอย่าง ของอาหารปรุงเองที่เป็นที่นิยม ได้แก่ ไก่ทอดหรือไก่ย่าง, หมูทอด ส่วนอาหารปรุงเองที่หลาย ๆ ครอบครัวคงปฏิเสธไม่ได้ ว่าเป็นอาหารสุดโปรดของเจ้าสมาชิกสี่ขา คือ อาหารที่มีส่วนผสมของตับ เช่น ตับไก่และตับหมูเป็นต้น หลายครั้งที่เจ้าของพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์มักได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่อง อาหารที่มักตรงกันข้ามกับอาหารที่ชื่นชอบของสุนัข หาก เจ้าของที่ปรุงอาหารที่มีส่วนผสมของตับให้สุนัขกินต่อเนื่องเป็นเวลานาน คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสุนัขอาจแสดงลักษณะบางอย่างที่ปรากฏเห็นได้ชัด เช่น ขนหยาบกราน หรือผิวหนังแห้ง อาการดังกล่าวนี้ มีสาเหตุจากสิ่งใด หรือการให้ทานตับในปริมาณมากหรือในระยะเวลานาน อาจเกิดสิ่งอื่นๆ ได้อีกหรือไม่
อาหารที่มีส่วนผสมของตับ
มี ปริมาณของวิตามินเอเป็นจำนวนมาก หากสุนัขได้รับในปริมาณมากหรือได้รับต่อเนื่องเป็นเวลานาน สุนัขจะมีการสะสมของวิตามินเอในร่างกาย จนเกิดความเป็นพิษต่อระบบต่างๆ ภายในร่างกาย
อาการ
อาจ สังเกตพบอาการต่างๆ เช่น น้ำหนักลดลง มีร่างกายซูบผอม, ซึม, ผิวหนังและขนหยาบกร้าน, เจ็บเวลาเดิน หากพบในลูกสุนัข อาจพบว่าสุนัขมีรูปร่างผิดปกติร่วมด้วย จัดเป็นอาการที่เด่นชัดและมีผลกระทบต่อสุนัขมาก ซึ่งพบได้ในกรณีที่สุนัขกินตับในปริมาณมาก เนื่องจากมีวิตามินเอที่สะสมในร่างกายปริมาณมากจนเกิดความเป็นพิษนั้นจะส่ง ผลให้เกิดขบวนการเจริญของกระดูกที่ผิดปกติไป ไม่ว่าจะเป็นหยุดการสร้างคอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบในกระดูก, ลดการเจริญของกระดูกในลูกสุนัข และเกิดการเจริญที่ผิดปกติของกระดูกอ่อน เมื่อพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ อาจต้องทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อแยกจากความผิดปกติของกระดูกในกรณีอื่นๆ โดยการตรวจคลำร่วมกับการถ่ายภาพเอกซเรย์ เช่น การอักเสบของกระดูกหรือเนื้องอกกระดูก เป็นต้น
การแก้ไข
ควร เปลี่ยนให้เป็นอาหารที่มีสัดสวนของอาหารอย่างสมดุล เช่น ผลิตภัณท์อาหารสุนัขที่มีจำหน่ายทั่วไป ซึ่งจะมีสัดส่วนของอาหารที่ค่อนข้างสมดุลกว่าอาหารปรุงเอง ในบางครั้งสัตวแพทย์อาจให้การรักษาทางยาร่วมด้วยหากสุนัขมีอาการต่างๆ ในกรณีที่พบอาการในสุนัขโตเต็มวัยพบว่ามักมีการปรับสภาพร่างกายให้เป็นปกติ ได้ค่อนข้างดี แต่อาจยังพบอาการอื่นๆ ได้บ้างเช่น อาการข้อต่อแข็งเกร็ง เป็นต้น ในกรณีที่พบอาการในลูกสุนัขอาจพบการเจริญที่ผิดปกติของโครงสร้างร่างกายได้
ตัวอย่าง ของอาหารปรุงเองที่เป็นที่นิยม ได้แก่ ไก่ทอดหรือไก่ย่าง, หมูทอด ส่วนอาหารปรุงเองที่หลาย ๆ ครอบครัวคงปฏิเสธไม่ได้ ว่าเป็นอาหารสุดโปรดของเจ้าสมาชิกสี่ขา คือ อาหารที่มีส่วนผสมของตับ เช่น ตับไก่และตับหมูเป็นต้น หลายครั้งที่เจ้าของพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์มักได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่อง อาหารที่มักตรงกันข้ามกับอาหารที่ชื่นชอบของสุนัข หาก เจ้าของที่ปรุงอาหารที่มีส่วนผสมของตับให้สุนัขกินต่อเนื่องเป็นเวลานาน คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสุนัขอาจแสดงลักษณะบางอย่างที่ปรากฏเห็นได้ชัด เช่น ขนหยาบกราน หรือผิวหนังแห้ง อาการดังกล่าวนี้ มีสาเหตุจากสิ่งใด หรือการให้ทานตับในปริมาณมากหรือในระยะเวลานาน อาจเกิดสิ่งอื่นๆ ได้อีกหรือไม่
อาหารที่มีส่วนผสมของตับ
มี ปริมาณของวิตามินเอเป็นจำนวนมาก หากสุนัขได้รับในปริมาณมากหรือได้รับต่อเนื่องเป็นเวลานาน สุนัขจะมีการสะสมของวิตามินเอในร่างกาย จนเกิดความเป็นพิษต่อระบบต่างๆ ภายในร่างกาย
อาการ
อาจ สังเกตพบอาการต่างๆ เช่น น้ำหนักลดลง มีร่างกายซูบผอม, ซึม, ผิวหนังและขนหยาบกร้าน, เจ็บเวลาเดิน หากพบในลูกสุนัข อาจพบว่าสุนัขมีรูปร่างผิดปกติร่วมด้วย จัดเป็นอาการที่เด่นชัดและมีผลกระทบต่อสุนัขมาก ซึ่งพบได้ในกรณีที่สุนัขกินตับในปริมาณมาก เนื่องจากมีวิตามินเอที่สะสมในร่างกายปริมาณมากจนเกิดความเป็นพิษนั้นจะส่ง ผลให้เกิดขบวนการเจริญของกระดูกที่ผิดปกติไป ไม่ว่าจะเป็นหยุดการสร้างคอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบในกระดูก, ลดการเจริญของกระดูกในลูกสุนัข และเกิดการเจริญที่ผิดปกติของกระดูกอ่อน เมื่อพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ อาจต้องทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อแยกจากความผิดปกติของกระดูกในกรณีอื่นๆ โดยการตรวจคลำร่วมกับการถ่ายภาพเอกซเรย์ เช่น การอักเสบของกระดูกหรือเนื้องอกกระดูก เป็นต้น
การแก้ไข
ควร เปลี่ยนให้เป็นอาหารที่มีสัดสวนของอาหารอย่างสมดุล เช่น ผลิตภัณท์อาหารสุนัขที่มีจำหน่ายทั่วไป ซึ่งจะมีสัดส่วนของอาหารที่ค่อนข้างสมดุลกว่าอาหารปรุงเอง ในบางครั้งสัตวแพทย์อาจให้การรักษาทางยาร่วมด้วยหากสุนัขมีอาการต่างๆ ในกรณีที่พบอาการในสุนัขโตเต็มวัยพบว่ามักมีการปรับสภาพร่างกายให้เป็นปกติ ได้ค่อนข้างดี แต่อาจยังพบอาการอื่นๆ ได้บ้างเช่น อาการข้อต่อแข็งเกร็ง เป็นต้น ในกรณีที่พบอาการในลูกสุนัขอาจพบการเจริญที่ผิดปกติของโครงสร้างร่างกายได้
เขียนโดย
big kiii 51011011276
ความคิดเห็น (0)
เทคโนโลยีการสื่อสารกับเด็กปฐมวัย
โลกปัจจุบันกล่าวได้ว่าเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร คนในโลกปัจจุบันต้องรับข้อมูลข่าวสารที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลที่รับเข้ามานั้น มีทั้งข้อมูลที่มีประโยชน์และข้อมูลที่ไร้ค่า บุคคลจึงต้องมีความสามารถไม่เพียงแต่การรับข้อมูลหรือสื่อสารเท่านั้น แต่จะต้องมีความสามารถในการเลือกสรร คัดกรอง และเข้าถึงข้อมูลที่เป็นจริง และสามารถเลือกนำข้อมูลสาระมาสู่การสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่ตนเอง การให้การศึกษาเพื่อสร้างความสามารถดังกล่าวให้แก่เด็ก จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้คนได้รับการพัฒนาและพร้อมรับกับการเปลี่ยน แปลงของโลกที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
ผลกระทบต่อเด็กปฐมวัย
โลกแห่งข่าวสารข้อมูลนั้น มีผลกระทบต่อเด็กปฐมวัยหลายประการ ดังนี้
1. การพัฒนาความสามารถในการสื่อสาร ทั้งการรับสารและการส่งสาร ทั้งนี้ มิใช่เฉพาะด้านที่ใช้ติดต่อสื่อสารเท่านั้น แต่รวมทั้งการรับสารที่มาจากช่องทางที่หลากหลายขึ้นจากเดิม
2. การพัฒนาความสามารถในการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งเด็กจะต้องได้รับการฝึกฝนให้มีทักษะในการสืบค้นในแนวทางต่างๆที่เพิ่ม ขึ้นจากเดิม ดังนี้
2.1 การรู้จักวิธีสืบค้นด้วยวิธีการต่างๆ
2.2 การแสวงหาข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง
2.3 การรู้จักกลั่นกรองข้อมูลที่ได้รับ
ผู้ใหญ่จะช่วยเตรียมเด็กให้อยู่ในยุคดังกล่าวได้อย่างไร
ผู้ใหญ่มีหน้าที่ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้และพร้อมที่จะก้าวไป สู่สังคมที่มีสภาพแวดล้อมต่างๆได้อย่างมั่นคง ในโลกยุคข่าวสารข้อมูล เด็กปฐมวัยต้องได้รับการจัดประสบการณ์เพื่อเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการเรียน รู้ โดยผู้ใหญ่สามารถจัดเตรียมประสบการณ์ให้เด็ก ดังนี้
1. การพัฒนาให้เด็กมีความสามารถด้านการสื่อสารอย่างเต็มที่ในช่วงวัย โดยเฉพาะการใช้ ภาษาแม่ ( ภาษาไทย )ที่เข้มแข็ง สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างเข้าใจ และพร้อมในการรับข้อมูลข่าวสารต่างๆได้อย่างถูกต้องด้วยเช่นกัน
2. การสร้างความคุ้นเคยและรับรู้ภาษาของเด็ก ทั้งวจนภาษา และภาษาสัญลักษณ์ต่างๆ โดยใช้วิธีการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ((Whole language)
3. การให้โอกาสและการสนับสนุนให้เด็กใช้วิธีการสืบค้นข้อมูลด้วยวิธีที่หลากหลาย รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีต่างๆที่มีในชีิวิตประจำวัน
เด็กปฐมวัยกับการใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษาในความหมายทั่วไป หมายถึงเครื่องมือ เครื่องใช้ที่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ ซึ่งนำมาใช้ในการสนับสนุนการจัดการศึกษา ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ เครื่องเล่นวีดีทัศน์ เครื่องเล่นและเครื่องบันทึกเสียง กล้องถ่ายภาพดิจิตอล ฯลฯ และช่วยในการเรียนรู้แบบต่างๆ ซึ่งในปัจจุบัน เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมากมาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการรับและส่งสารต่างๆ และมีผลต่อการศึกษา โดยเป้าหมายของการศึกษาได้เพิ่มมิติด้านเทคโนโลยีเข้าไปด้วย เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าถึงการใช้เทคโนโลยีและปรับตัวเข้ากับ สังคมแห่งเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น หน้าที่ของสังคม ครอบครัว และครู คือการให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี ไม่กลายเป็นผู้มีช่องว่างของเทคโนโลยี ที่มีผลต่อการขาดโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆอย่างทันต่อเหตุการณ์
ในปัจจุบันเด็กปฐมวัย ได้เจริญเติบโตขึ้นมาในโลกของเทคโนโลยีและได้มีการนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ใน สถานศึกษาอย่างแพร่หลาย ทั้งในแง่ของการใช้เพื่อการจัดการข้อมูลและใช้ในการศึกษา และที่กล่าวถึงโดยทั่วไป เทคโนโลยีที่นำมาใช้มากกับเด็กปฐมวัยปัจจุบันคือ คอมพิวเตอร์
ในวงวิชาการ การศึกษาปฐมวัยได้มีการให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในเด็ก ปฐมวัยไว้ทั้งด้านบวกและด้านต่างออกไป ดังความเห็นของสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แสดงความคิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กับเด็กปฐมวัยไว้ว่า แม้จะมีผลงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงผลในเชิงบวกของการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้และการพัฒนาการของเด็ก แต่ขณะเดียวกันก็ชี้ให้เห็นว่า การนำคอมพิวเตอร์มาใช้จัดกิจกรรมนั้น ยังไม่แสดงถึงคุณค่าที่มีต่อการพัฒนาเด็กเทียบเท่ากับกิจกรรมอื่นๆ เช่น กิจกรรมศิลปะ การเล่นบล็อก เล่นน้ำ เล่นทราย หนังสือ กิจกรรมสมมติ ฯลฯ ที่จัดอยู่ตามปกติในชั้นเรียนของเด็ก และมีข้อคิดเห็นว่า ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนา เด็ก แต่ก็มีโอกาสที่จะถูกนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสมและอาจให้ผลตรงข้ามกับที่คาด หวังไว้ สิ่งสำคัญในการนำคอมพิวเตอร์มาเป็นกิจกรรมหรือเครื่องมือสำหรับเด็ก คือ ซอฟแวร์ ที่ต้องมีการเลือกสรรอย่างดี คัดเลือกที่จะนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้และการคิดสร้างสรรค์ ดังนั้น จึงเสนอแนะว่า นักวิชาการหรือผู้ปฏิบัติงานกับเด็ก จะต้องใช้ดุลยพินิจอย่างมากในการคัดเลือก ซอฟแวร์ที่มีคุณภาพ รวมทั้งการใช้วิธีการที่เหมาะสมในการนำคอมพิวเตอร์ไปสู่การเรียนรู้ของเด็ก และจัดเวลาของการเล่นให้มีความสมดุล มีลักษณะเช่นเดียวกับเครื่องเล่นชนิดอื่นๆในห้องเรียน
ข้อแนะนำในการนำเทคโนโลยีมาใช้กับเด็กปฐมวัย
เนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาสู่การใช้ในแง่ของการ เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ ที่ผ่านกระบวนการการเล่นเหมือนเครื่องเล่นชนิดอื่นๆ จึงมีข้อแนะนำในการนำเทคโนโลยีมาจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก ดังนี้
1. การนำเทคโนโลยีมาใช้กับเด็กปฐมวัยนั้นต้องพิจารณาในหลักของความสอดคล้องกับ หลักการสนับสนุนพัฒนาการของเด็ก และสอดคล้องกับหลักสูตร ตลอดจนการประเมินผลพัฒนาการตามวัตถุประสงค์การศึกษา ครูต้องใช้ดุลยพินิจในการนำมาใช้ให้เหมาะสม คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และบริบททางสังคมของเด็กด้วย
2. การพิจารณาด้านความเหมาะสมของเทคโนโลยีนั้น จะต้องช่วยพัฒนาการทั้งด้านสติปัญญาและทางสังคมควบคู่กันไป
3. การนำเทคโนโลยีมาใช้ต้องนำมาใช้โดยการบูรณาการกับเครื่องมืออื่นๆ ในลักษณะของการเป็นสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และใช้เป็นสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก
4. เทคโนโลยีมีความซับซ้อน และมีศักยภาพสูง เช่น คอมพิวเตอร์ ครูจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการนำมาใช้ที่ชัดเจน คือให้เป็นเสมือนเครื่องมือที่สนับสนุนการเรียนรู้ แต่มิใช่นำมาใช้ในลักษณะของการเป็นบทเรียน หรือ สาระความรู้ที่ผู้เรียนต้องเรียนอย่างเคร่งเครียด หรือเรียนเป็นระบบ
5. นักการศึกษาปฐมวัยต้องเข้าใจว่า เทคโนโลยีทางการศึกษานั้น เป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าในการสร้างเสริมการเรียนรู้ของเด็ก โดยเฉพาะการส่งเสริมช่วงความสนใจ การแก้ปัญหา และการยอมรับเครื่องมือเครื่องใช้ในโลกปัจจุบัน ดังนั้น จึงควรให้โอกาสเด็กทุกคนได้เข้าถึงเทคโนโลยี และรวมทั้งการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองในประเด็นนี้ด้วย
จะเห็นได้ว่า การนำเทคโนโลยีมาใช้ในเด็กปฐมวัยนั้น มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากโลกปัจจุบันและอนาคต เป็นโลกแห่งเทคโนโลยี และนับวันจะมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น การนำเทคโนโลยีมาสู่เด็ก จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กได้คุ้นเคย และรับรู้ว่า เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับเครื่องมืออื่นๆ ที่เขาสามารถทำความรู้จัก เข้าใจ และใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ได้ ข้อสำคัญ ครูและผู้ใหญ่จะต้องเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าวและไม่นำเทคโนโลยีโดย เฉพาะคอมพิวเตอร์มากำหนดเป็นบทเรียนสำหรับเด็ก รวมทั้งการกำหนดการใช้อย่างเหมาะสมกับเด็กทั้งด้านการเลือกซอฟแวร์ การกำหนดช่วงเวลาและลักษณะของการใช้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก
……………
เอกสารอ้างอิง
วรนาท รักสกุลไทย (2537) ประมวลสาระชุดวิชาหลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา.หน่วยที่ 9. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
โลกปัจจุบันกล่าวได้ว่าเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร คนในโลกปัจจุบันต้องรับข้อมูลข่าวสารที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลที่รับเข้ามานั้น มีทั้งข้อมูลที่มีประโยชน์และข้อมูลที่ไร้ค่า บุคคลจึงต้องมีความสามารถไม่เพียงแต่การรับข้อมูลหรือสื่อสารเท่านั้น แต่จะต้องมีความสามารถในการเลือกสรร คัดกรอง และเข้าถึงข้อมูลที่เป็นจริง และสามารถเลือกนำข้อมูลสาระมาสู่การสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่ตนเอง การให้การศึกษาเพื่อสร้างความสามารถดังกล่าวให้แก่เด็ก จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้คนได้รับการพัฒนาและพร้อมรับกับการเปลี่ยน แปลงของโลกที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
ผลกระทบต่อเด็กปฐมวัย
โลกแห่งข่าวสารข้อมูลนั้น มีผลกระทบต่อเด็กปฐมวัยหลายประการ ดังนี้
1. การพัฒนาความสามารถในการสื่อสาร ทั้งการรับสารและการส่งสาร ทั้งนี้ มิใช่เฉพาะด้านที่ใช้ติดต่อสื่อสารเท่านั้น แต่รวมทั้งการรับสารที่มาจากช่องทางที่หลากหลายขึ้นจากเดิม
2. การพัฒนาความสามารถในการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งเด็กจะต้องได้รับการฝึกฝนให้มีทักษะในการสืบค้นในแนวทางต่างๆที่เพิ่ม ขึ้นจากเดิม ดังนี้
2.1 การรู้จักวิธีสืบค้นด้วยวิธีการต่างๆ
2.2 การแสวงหาข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง
2.3 การรู้จักกลั่นกรองข้อมูลที่ได้รับ
ผู้ใหญ่จะช่วยเตรียมเด็กให้อยู่ในยุคดังกล่าวได้อย่างไร
ผู้ใหญ่มีหน้าที่ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้และพร้อมที่จะก้าวไป สู่สังคมที่มีสภาพแวดล้อมต่างๆได้อย่างมั่นคง ในโลกยุคข่าวสารข้อมูล เด็กปฐมวัยต้องได้รับการจัดประสบการณ์เพื่อเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการเรียน รู้ โดยผู้ใหญ่สามารถจัดเตรียมประสบการณ์ให้เด็ก ดังนี้
1. การพัฒนาให้เด็กมีความสามารถด้านการสื่อสารอย่างเต็มที่ในช่วงวัย โดยเฉพาะการใช้ ภาษาแม่ ( ภาษาไทย )ที่เข้มแข็ง สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างเข้าใจ และพร้อมในการรับข้อมูลข่าวสารต่างๆได้อย่างถูกต้องด้วยเช่นกัน
2. การสร้างความคุ้นเคยและรับรู้ภาษาของเด็ก ทั้งวจนภาษา และภาษาสัญลักษณ์ต่างๆ โดยใช้วิธีการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ((Whole language)
3. การให้โอกาสและการสนับสนุนให้เด็กใช้วิธีการสืบค้นข้อมูลด้วยวิธีที่หลากหลาย รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีต่างๆที่มีในชีิวิตประจำวัน
เด็กปฐมวัยกับการใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษาในความหมายทั่วไป หมายถึงเครื่องมือ เครื่องใช้ที่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ ซึ่งนำมาใช้ในการสนับสนุนการจัดการศึกษา ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ เครื่องเล่นวีดีทัศน์ เครื่องเล่นและเครื่องบันทึกเสียง กล้องถ่ายภาพดิจิตอล ฯลฯ และช่วยในการเรียนรู้แบบต่างๆ ซึ่งในปัจจุบัน เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมากมาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการรับและส่งสารต่างๆ และมีผลต่อการศึกษา โดยเป้าหมายของการศึกษาได้เพิ่มมิติด้านเทคโนโลยีเข้าไปด้วย เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าถึงการใช้เทคโนโลยีและปรับตัวเข้ากับ สังคมแห่งเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น หน้าที่ของสังคม ครอบครัว และครู คือการให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี ไม่กลายเป็นผู้มีช่องว่างของเทคโนโลยี ที่มีผลต่อการขาดโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆอย่างทันต่อเหตุการณ์
ในปัจจุบันเด็กปฐมวัย ได้เจริญเติบโตขึ้นมาในโลกของเทคโนโลยีและได้มีการนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ใน สถานศึกษาอย่างแพร่หลาย ทั้งในแง่ของการใช้เพื่อการจัดการข้อมูลและใช้ในการศึกษา และที่กล่าวถึงโดยทั่วไป เทคโนโลยีที่นำมาใช้มากกับเด็กปฐมวัยปัจจุบันคือ คอมพิวเตอร์
ในวงวิชาการ การศึกษาปฐมวัยได้มีการให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในเด็ก ปฐมวัยไว้ทั้งด้านบวกและด้านต่างออกไป ดังความเห็นของสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แสดงความคิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กับเด็กปฐมวัยไว้ว่า แม้จะมีผลงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงผลในเชิงบวกของการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้และการพัฒนาการของเด็ก แต่ขณะเดียวกันก็ชี้ให้เห็นว่า การนำคอมพิวเตอร์มาใช้จัดกิจกรรมนั้น ยังไม่แสดงถึงคุณค่าที่มีต่อการพัฒนาเด็กเทียบเท่ากับกิจกรรมอื่นๆ เช่น กิจกรรมศิลปะ การเล่นบล็อก เล่นน้ำ เล่นทราย หนังสือ กิจกรรมสมมติ ฯลฯ ที่จัดอยู่ตามปกติในชั้นเรียนของเด็ก และมีข้อคิดเห็นว่า ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนา เด็ก แต่ก็มีโอกาสที่จะถูกนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสมและอาจให้ผลตรงข้ามกับที่คาด หวังไว้ สิ่งสำคัญในการนำคอมพิวเตอร์มาเป็นกิจกรรมหรือเครื่องมือสำหรับเด็ก คือ ซอฟแวร์ ที่ต้องมีการเลือกสรรอย่างดี คัดเลือกที่จะนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้และการคิดสร้างสรรค์ ดังนั้น จึงเสนอแนะว่า นักวิชาการหรือผู้ปฏิบัติงานกับเด็ก จะต้องใช้ดุลยพินิจอย่างมากในการคัดเลือก ซอฟแวร์ที่มีคุณภาพ รวมทั้งการใช้วิธีการที่เหมาะสมในการนำคอมพิวเตอร์ไปสู่การเรียนรู้ของเด็ก และจัดเวลาของการเล่นให้มีความสมดุล มีลักษณะเช่นเดียวกับเครื่องเล่นชนิดอื่นๆในห้องเรียน
ข้อแนะนำในการนำเทคโนโลยีมาใช้กับเด็กปฐมวัย
เนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาสู่การใช้ในแง่ของการ เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ ที่ผ่านกระบวนการการเล่นเหมือนเครื่องเล่นชนิดอื่นๆ จึงมีข้อแนะนำในการนำเทคโนโลยีมาจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก ดังนี้
1. การนำเทคโนโลยีมาใช้กับเด็กปฐมวัยนั้นต้องพิจารณาในหลักของความสอดคล้องกับ หลักการสนับสนุนพัฒนาการของเด็ก และสอดคล้องกับหลักสูตร ตลอดจนการประเมินผลพัฒนาการตามวัตถุประสงค์การศึกษา ครูต้องใช้ดุลยพินิจในการนำมาใช้ให้เหมาะสม คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และบริบททางสังคมของเด็กด้วย
2. การพิจารณาด้านความเหมาะสมของเทคโนโลยีนั้น จะต้องช่วยพัฒนาการทั้งด้านสติปัญญาและทางสังคมควบคู่กันไป
3. การนำเทคโนโลยีมาใช้ต้องนำมาใช้โดยการบูรณาการกับเครื่องมืออื่นๆ ในลักษณะของการเป็นสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และใช้เป็นสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก
4. เทคโนโลยีมีความซับซ้อน และมีศักยภาพสูง เช่น คอมพิวเตอร์ ครูจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการนำมาใช้ที่ชัดเจน คือให้เป็นเสมือนเครื่องมือที่สนับสนุนการเรียนรู้ แต่มิใช่นำมาใช้ในลักษณะของการเป็นบทเรียน หรือ สาระความรู้ที่ผู้เรียนต้องเรียนอย่างเคร่งเครียด หรือเรียนเป็นระบบ
5. นักการศึกษาปฐมวัยต้องเข้าใจว่า เทคโนโลยีทางการศึกษานั้น เป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าในการสร้างเสริมการเรียนรู้ของเด็ก โดยเฉพาะการส่งเสริมช่วงความสนใจ การแก้ปัญหา และการยอมรับเครื่องมือเครื่องใช้ในโลกปัจจุบัน ดังนั้น จึงควรให้โอกาสเด็กทุกคนได้เข้าถึงเทคโนโลยี และรวมทั้งการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองในประเด็นนี้ด้วย
จะเห็นได้ว่า การนำเทคโนโลยีมาใช้ในเด็กปฐมวัยนั้น มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากโลกปัจจุบันและอนาคต เป็นโลกแห่งเทคโนโลยี และนับวันจะมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น การนำเทคโนโลยีมาสู่เด็ก จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กได้คุ้นเคย และรับรู้ว่า เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับเครื่องมืออื่นๆ ที่เขาสามารถทำความรู้จัก เข้าใจ และใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ได้ ข้อสำคัญ ครูและผู้ใหญ่จะต้องเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าวและไม่นำเทคโนโลยีโดย เฉพาะคอมพิวเตอร์มากำหนดเป็นบทเรียนสำหรับเด็ก รวมทั้งการกำหนดการใช้อย่างเหมาะสมกับเด็กทั้งด้านการเลือกซอฟแวร์ การกำหนดช่วงเวลาและลักษณะของการใช้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก
……………
เอกสารอ้างอิง
วรนาท รักสกุลไทย (2537) ประมวลสาระชุดวิชาหลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา.หน่วยที่ 9. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เกี่ยวกับฉัน
ผู้ติดตาม
ขับเคลื่อนโดย Blogger.